ยินดีต้อนรับเข้าสู่แหล่งการเรียนรู้ ''วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม''

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่7


บันทึกอนุทินครั้งที
ครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาแบบเรียนรวม
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood

ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
เวลาเรียน
 13:10 – 16-40 .
วันพฤหัสบดี ที่
 26 กุมภาพันธ์ 2558

  





ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค










วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทินครั้งที
ครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาแบบเรียนรวม
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood

ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
เวลาเรียน
 13:10 – 16-40 .
วันพฤหัสบดี ที่
 19 กุมภาพันธ์ 2558


เนื่องจากดิฉันติดธุระจึงไม่ได้ไปเรียนเลยศึกษาจากบล็อกของนางสาวศศิญา สุจริต มาเป็นตัวอย่างในการศึกษาในอาทิตย์นี้ค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ


ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้มี กิจกรรมรถไฟเหาะชีวิต มาให้พวกเราเล่นเพื่อเป็นการผ่อนคลาย
และเกิดความสนุกสนานในการเรียน

           เรื่องที่เรียนในวันนี้คือ การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ
         
           ทักษะทางสังคม  เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ไดมีสาเหตุมาจากพ่อแม่  และสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้รับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการที่ดี
            กิจกรรมการเล่น  การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญ  เด็กจะสนใจกันโดยมีการเล่นเป็นสื่อ  ในช่วงแรกเด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่จะมองเป็นสิ่งที่น่าสำรวจ
           ยุทธศาสตร์การสอน  ครูจะเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ  บอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นอย่างไร  จดบันทึก  และทำแผน IEP
            การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง  วางแผนการเล่นไว้หลาย ๆ อย่าง  คำนึงถึงเด็กทุกคน  ให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน และให้เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ
            ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น  คอยเฝ้ามองอยู่ใกล้ ๆ ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
 ไม่เข้าไปพูดคุยตัดสินผลงานเด็กขณะเด็กกำลังทำกิจกรรม  เอาวัสดุมาให้เพิ่มเพื่อยืดเวลาการเล่น  ควรให้อุปกรณ์น้อยกว่าจำนวนเด็กในกลุ่ม  เช่น มีเด็ก
5 คน ควรให้ของเล่นเด็กอย่างละ 2 ชิ้น  เพื่อให้เด็กได้เรื่องรู้ทักษะทางสังคมจากการเล่น  ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม  กรณีที่เด็กไม่ยอมให้อุปกรณ์เพื่อนเล่นบาง ครูควรทำให้การเล่นเป็นเหมือนการเล่นเกม เช่น ให้ตักทราย 10 ครั้ง แล้วส่งอุปกรณ์ต่อให้เพื่อน

             การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น  โดยการชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน  กรณีเด็กดาวน์ซินโดรมและเด็กออทิสติก  หากครูจะชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อนและให้เพื่อนในกลุ่มเกิดการยอมรับน้องดาวน์หรือน้องออ ควรให้น้องนำของเล่นเข้าไปเล่นกันเพื่อนด้วย  เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับน้อง  และครูควรเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ก่อน
             ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกฑณ์  ให้โอกาสเด็กพิเศษ  ได้เรียนรู้สิทธิต่าง ๆ เหมือนเพื่อนในห้อง  และครูไม่ใช่ความบกพร่องเป็นเครื่องต่อรอง

             หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็แจกเนื้อเพลง 


กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ก็คือ กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ  โดยให้นักศึกษาจับคู่กัน แล้วให้คนนึงเป็นเด็กปกติและอีกคนเป็นเด็กพิเศษ จากนั้นให้หยิบสีเทียนคนละ 1 สี ให้คนนึงวาดเส้น และอีกคนเขียนจุด  วาดไปตามจังหวะทำนองเพลงที่อาจารย์เปิดจนจบเพลง  โดยคนที่วาดเส้นห้ามยกสีขึ้น ให้วาดไปอย่างต่อเนื่อง และคนเขียนจุดให้เขียนตามรอยเส้นตัดที่เป็นวง



สิ่งที่ได้รับในวันนี้

การส่งเสริมทักษะด้านสังคมให้กับเด็กพิเศษ ในห้องเรียนรวม ควรให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มเพื่อให้เขารู้จักการแบ่งปัน มีการปรับตัวเขากับสังคม การจักจัดกิจกรรมนั้นควรคำนึงถึงเด็กทุกคนในชั้นเรียน เราสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง เพราะบางโรงเรียนก็จะมีการเรียนรวมเพื่อเปิดโอกาสให้เด้กได้เรียนรู้ที่เหมือนกัน ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการปรับทัศนคติทางสังคมของเด็กพิเศษด้วย และกิจกรรมที่เราทำสามารถนำไปใช้กับเด็กได้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทินครั้งที
ครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาแบบเรียนรวม
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
เวลาเรียน
13:10 – 16-40.
วันพฤหัสบดี ที่
12 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้ได้มีการเซอร์ไพรท์วันเกิดอาจารย์ โดยการเขียนคำว่า HBD .เบียร์ และเขียนลงบนกระดาษแล้วให้สมาชิกในห้องเรียนถือตอนอาจารย์เดินเข้ามาในห้องเรียน และมีการรวบรวมเงินกันซื้อเค้กให้อาจารย์ จากนั่นอาจารย์จึงได้ตัดเค้กให้กินร่วมกัน


สิ่งที่ได้รับในวันนี้
     ได้เห็นความสามัคคีของเพื่อนๆ รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถนำสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในวันนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถทำให้เราอยู่ร่วมกันในห้องเรียนอย่างมีความสุข

การประเมินผล
        ตนเอง   : ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนๆ ให้ความร่วมมือในการเซอร์ไพรส์วันเกิดอาจารย์ด้วยความตั้งใจ 
        เพื่อน     : ช่วยกันออกความคิดเห็น ในความร่วมมือในการเซอร์ไพรท์วันเกิดอาจารย์

        อาจารย์ : อาจารย์น่ารักมากและมีความสุข

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทินครั้งที
ครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาแบบเรียนรวม
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
เวลาเรียน
13:10 – 16-40.
วันพฤหัสบดี ที่
5 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับ
        - อาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดรูปดอกลิลลี่ตามแบบที่อาจารย์ให้ดู โดยให้วาดให้เหมือนที่สุดพร้อมทั้งบอกว่าดอกลิลลี่ที่ได้เห็นในรูปสื่อถึงอะไร



     * ครูไม่ควรวินิจฉัย แต่ให้สันนิษฐาน 
         เพราะ การวินิจฉัย คือ การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง ซึ่งอาการที่แสดงออกมาอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
      * ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก 
         เพราะ จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ชื่อจะเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
      * ครูไม่ควรบอกพ่อแม่เด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
         เพราะ พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหาและไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ดังนั้นครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความหวังในด้านบวก รายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง นอกจากนี้ครูควรจะช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่ช่วยในการพัฒนาเด็ก
      * ครูสามารถทำสิ่งต่างๆที่มีผลต่อการพัฒนาเด็ก ดังนี้



         : สังเกตอย่างมีระบบ ไม่มีใครสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู เพราะครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า
         : การตรวจสอบ  ทำให้ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
          : การบันทึกการสังเกต การนับอย่างง่าย การบันทึกต่อเนื่อง การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
      * การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป 
         ครูควรเอาใจใส่ระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง นอกจากนี้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
      * การตัดสินใจ
         ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง คิดให้ดีก่อนพูดหรือลงมือกระทำสิ่งใดๆ


สิ่งที่นำไปพัฒนา
     - นำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและสังเกตพฤติกรรมของเด็กในห้องเรียนรวม เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
     - นำความรู้ในวันนี้ไปต่อยอดศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะได้มีความรู้เพิ่มมากขึ้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต


การประเมินผล
        ตนเอง   : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามในชั้นเรียนเป็นอย่างดี มีแอบกินขนมและคุยบ้างเป็นบางครั้ง
        เพื่อน     : ตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
        อาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจง่าย มีความชัดเจน มีการยกตัวอย่างสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ได้จริง
TOP
Faded Red Hand Blue Bow Heart